Ielts III สามครั้งกับการสอบไอเอล

International English Language Testing System (IELTS) เป็นการสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 

สำหรับผู้ที่ให้บริการการสอบ มี 2 ศูนย์ใหญ่ในประเทศไทย ค่ะ คือ British Council (BC) และ IDP Thailand
ซึ่งข้อแตกต่างก็จะเป็นเรื่องของสถานที่สอบ และอุปกรณ์ ซึ่งแตกต่างไปในแต่ละสถานที่สอบ
BC : สถานที่สอบมีจำนวนน้อยกว่า IDP (เคยไปสอบแค่ landmark BKK แนะนำค่ะ คนเยอะ เป็นระบบระเบียบ หูฟังรายบุคคลดังฟังชัด )
IDP : เคยสอบแต่ขอนแก่น ค่ะ ที่โรงเรียนพูลแมน แนะนำเช่นกันค่ะ คนสอบพอดีกับสถานที่ หูฟังรายบุคคลดังฟังชัดเหมือนกันค่ะ ^^ 

รูปแบบการสอบ
1. Academic : เราสอบตัวนี้ค่ะ academic จะเป็นคะแนนสอบเพื่อใช้เรียนต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ 
2. General Training

การสมัครสอบ : ขอแนะนำเป็นสมัครผ่านออนไลน์ แล้วจ่ายผ่านบัตรเดบิตหรือเครดิต 
ราคาค่าสอบ : ไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนแปลงอีกมั้ย แต่ตอนนี้ 6400 โดยประมาณค่ะ

การสอบรวม 4 ทักษะทางภาษาอังกฤษ คือ ฟัง อ่าน เขียน พูด

เกณฑ์การให้คะแนน 
คะแนน ielts จะเป็น band สูงสุดที่ 9 
ซึ่งโดยประมาณคนไทยปกติก็จะอยู่ที่ 4.5 ขึ้นไป (วัดจากคนที่เคยสอบด้วยกันนะคะ) แต่จะต้องได้คะแนนเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้รายบุคคลค่ะ เช่น เรียนต่อเมืองนอก บางมหาวิทยาลัยรับเข้าที่ 6.0 เป็นต้น

การสอบเป็นไปอย่างเป็นรูปแบบ ช่วงเช้าต้องไปถึงสถานที่สอบก่อนเวลา 8.00 น.ก็ดีนะคะ เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการรอลงทะเบียน ซึ่งการสอบจริงจะเริ่มเวลา 9.00-12.00 น. โดยประมาณ สำหรับ 3 tasks แรก (ฟัง อ่าน เขียน) ขั้นตอนแรกเราก็จะต้องนำอุปกรณ์ กระเป๋า ฯลฯ (belongings) ที่เราเอามาด้วยไปฝากไว้ เขาให้เอาเข้าได้แค่บัตรประชาชน (ID card) หรือ passport เท่านั้นค่ะ ส่วนอย่างอื่นก็สอบถามแต่ละสถานที่สอบอนุญาต

เทคนิคในการเรียนรู้ในการเพิ่มคะแนน

1. Listening ยอมรับว่า series มีผลต่อจิตใจ ดีงามมากค่ะ ดูจบไป 3-4 เรื่อง ตอนนี้ยังดูซับไทยอยู่ค่ะ แต่พยายามเก็บคำพูดแบบภาษาอังกฤษให้เยอะที่สุด หลังๆก็เริ่มฟังออก โดยไม่ต้องดูซับแล้ว ยกเว้นศัพท์ที่ยากหน่อย นอกจากนี้ก็ หนัง soundtrack ค่ะ ส่วนนอกจากนี้ก็มีคนบอกให้ฟัง Tedxtalk แต่ก็ฟังไม่รู้เรื่อง 5555 เลยยังคงอยู่ที่ซีรี่ย์อยู่เลย กลับมาที่เวลาสอบพาทนี้ เนื่องจากไม่มีรีรัน เทปวิ่งรอบเดียวจบ สมาธิห้ามหลุด จิตไม่ต้องสัมผัสอะไรทั้งนั้นนะคะ ให้อยู่ที่เสียงเทปอย่างเดียว มือเขียน สมองคิด ทุกอย่างต้องไปพร้อมกันแบบรัวๆ โดยเฉพาะ ส่วนยาก (สำหรับเรา) บทสนทนายาวส่วนใหญ่จะเป็นครูกับนักเรียน/นักศึกษาคุยกัน และ ส่วนสุดท้ายเติมคำในช่องว่าง บางครั้งก็ง่าย บางครั้งก็ยากมากค่ะโดยเฉพาะเมื่อได้โจทย์เป็น research มีความรู้สึกว่า ถ้าอ่าน National geographic บ่อยๆ อาจจะพอเข้าใจ การทำพาทนี้ ให้รีบอ่านโจทย์เพื่อหา WH-question ก่อน จะได้พอรู้คำตอบที่เราต้องฟัง


2. Reading สิ่งที่ต้องฝึกสำหรับพาทนี้ เราจะได้ บทความ 3 บทความค่ะ skim scan สำคัญค่ะ ถ้าอยากฝึกอ่าน ก็หนังสือพิมพ์ Times, National geographic ก็โอเค ส่วนใหญ่บทความที่ได้จะเป็นเชิงวิทยาศาสตร์ สารคดี quote สำคัญๆ บ้าง  
3. Writting แบ่งเป็น 2 ส่วน (ขอให้เพ่งไปที่ส่วนที่ 2 นะคะ เพราะได้คะแนนเยอะกว่า) !!!! สำคัญที่เวลาน้อยอย่างเดียวเลยค่ะ !!! และก็ควรวางแผนก่อนเขียนอย่างรวดเร็ว ลองหาโจทย์มาฝึกเขียนบ่อยๆ ที่สำคัญ คือ คนที่ดูงานเขียนของเรา น่าจะดีถ้ามีสักคน
         3.1 TASK 1 : มีบางครั้งในใจคิดว่า มีหลายๆอย่างที่ทำให้เพิ่มคะแนนส่วนนี้ได้เยอะนะคะ ไม่ว่าจะเป็น Noun-phase, Adverb บอกความมากน้อย ,Verb (rise increase remain decrease etc.) บอกแนวโน้ม, 
         รูปแบบการเขียน 3 ส่วน เริ่มต้นที่ paraphase โจทย์มาว่ารูปโชว์อะไร ต่อด้วยค่ามากสุด แนวโน้ม และอธิบายส่วนอื่นๆ รวมทั้งเน้นส่วนที่น่าสนใจ สุดท้ายคือสรุปความเป็นไปของรูป ซึ่งก็จะเป็น กราฟเส้น กราฟแท่ง กราฟวงกลม หรือตาราง
        3.2 TASK 2 : โจทย์จะมีหลายรูปแบบ agree/disagree, disadvantage/advantage, both discussion, positive/negative, problem/solution ..........
         รูปแบบการเขียน 3-4 ส่วนเหมือนกัน intro body conclusion ส่วนที่สองนี้เป็น essay ที่ต้องเขียนให้มีเหตุมีผล มีตัวอย่าง คำเชื่อมประโยค และที่สำคัญ "มุมมอง" ของเราโดยเลือกใช้คำอื่นบ้าง นอกจาก I think.. 
4. Speaking แนะนำให้ฝึกพูดกับตัวเองบ่อยๆ พยายามคิดเป็นภาษาอังกฤษ คำพูดจากหนัง หรือซีรี่ย์ก็ช่วยให้ได้แนวทางในการพูดเหมือนกันค่ะ ศึกษาการใช้ tense และก็คำที่เป็นทางการหน่อย
ส่วนนี้จะแยกออกมาสอบช่วงบ่ายต่างหากค่ะ บางคนก็จะได้สอบวันถัดมาค่ะ ซึ่ง "ตื่นเต้น" คำเดียวเลย เตรียมมาให้ตายเถอะ พัง สลาย หาย กลาย เป็น ไอ ไปหมดในห้องสอบ เริ่มแรกกรรมการสอบก็จะถามเราเกี่ยวกับตัวเราเองค่ะ คำถามก็ทั่วๆไปค่ะ 
- ชื่ออะไร เรียกคุณว่าอะไรได้ ขอดู ID card 
- มาจากไหน / เรียนหรือทำงานอะไรอยู่ / เรื่องของที่อยู่อาศัย (เท่าที่เจอมาค่ะ)
- แล้วก็จะถามเรื่องทั่วไป ต่อด้วย ช่วงที่จะให้ Cue card มา ให้เราพูด 1-2 นาที พูดเรื่อยๆ ค่ะ ให้ครบทุกประเด็น จนกว่ากรรมการจะหยุดเรา
- แล้วกรรมการจะถามเกี่ยวกับเรื่องที่เราพูด ค่ะ หรือก็คือ คำถามที่เชื่อมโยงกับ Cue card 
เทคนิคการได้คะแนนจากส่วนนี้ คงหนีไม่พ้น ศัพท์ที่ดูดี มีหลักการ หรือ academic vocab คำเชื่อมประโยคต่างๆ ความลื่นไหลของการพูด 
ถ้าไม่แน่ใจให้ถามกรรมการนะคะ Do you mean ...? หรือต้องการทวนคำถาม Could you repeat it? หรือคำพูดอื่นที่สุภาพ และทำให้เราตอบคำถามต่อได้ บางครั้งถ้าเราไม่มีข้อมูล คงต้องใช้จินตนาการและความฝันค่ะ เช่น คำถามว่า คุณชอบใส่หมวก cap หรือ hat ซึ่งในความจริงเราไม่ใส่ ก็บอกไปได้ค่ะว่า ปกติเราก็ไม่ใส่ แต่...ถ้าให้เลือก เราก็เลือก.......เพราะ....... อะไรทำนองนี้ 

สุดท้ายนี้ ให้ใช้ศัพท์ ที่เป็น British ทั้งหมดนะคะ ระวังศัพท์อเมริกัน เช่น คำที่ลงท้าย ze ต้องใช้ se และก็หลายๆคำที่ใช้ไม่เหมือนกัน

----- Practice makes better -----

***ปล. ถ้าตรงไหนผิดพลาดอย่างไร ต้องขออภัยด้วยนะคะ***





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์การสอบ TOEIC ครั้งแรก !!!!

รวมเพลงจาก Disney's Frozen Soundtrack [Part1]

ประสบการณ์การบรรจุใหม่ ครูผู้ช่วย